วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

การสังเกตผู้ติดยาเสพติด 

เนื่องจากยาเสพติดทั้งหลาย เมื่อเกิดการเสพติดจะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพ ซึ่งทำให้ลักษณะ และความประพฤติของผู้เสพยาเสพติดเปลี่ยนไปจากเดิม

การสังเกตสมาชิกในครอบครัว
หากสงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติดหรือไม่ อาจสังเกตได้จาก

  1. การใช้เงินสิ้นเปลือง
    โดยเด็กจะใช้เงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายในไม่เกิน 1 ปี ซึ่งผู้ปกครองสามารถตรวจสอบ หรือควบคุมการใช้เงินของเด็กได้
  2. อุปกรณ์การเสพ
    อาจพบบุหรี่ที่มีรอยยับ และมักจะเก็บไว้ต่างหาก หรือพบกระดาษฟรอยด์ ไฟแช็ค และหลอด 
  3. มีนิสัยโกหก 
    เด็กจะเริ่มโกหกจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น เสพยาในห้องน้ำนานแต่โกหกว่าท้องผูก เป็นต้น จนกระทั่งเรื่องที่โกหกจะมีความสำคัญมากขึ้น เช่น โกหกว่าเครื่องประดับหาย หรือ โรงเรียนบังคับให้ซื้อเครื่องมือที่ราคาแพงๆ เป็นต้น
  4. มีนิสัยลักขโมย
  5. มีนิสัยเกียจคร้าน และไม่รับผิดชอบ
    หลังจากที่เสพยาเสพติดแล้ว ผู้เสพจะมีอาการเมายา ทำให้ลดความตั้งใจ และลดพฤติกรรมต่างๆ ลง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
  6. ร่างกายไม่แข็งแรง ผอมแห้งแรงน้อย 
    เนื่องจากไม่มีอาการอยากรับประทานอาหารเพราะอยู่ในอาการเมายา หรือต้องการพยายามเก็บเงินไว้ เพื่อซื้อยาเสพติดในครั้งต่อไป
  7. ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สกปรก
  8. อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตัวเอง
    ในการตรวจสอบหัวข้อนี้ ผู้ปกครองจะต้องมีความหนักแน่น มีเหตุผล และตั้งอยู่บนพื้นฐานความรัก และความเข้าใจในครอบครัว
  9. เก็บตัว ไม่สุงสิงกับคนอื่นไม่รับรู้ปัญหาภายในบ้าน และใช้ห้องน้ำนาน
  10. ติดต่อกับคนแปลกหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกที่เสพยาเสพติดเหมือนกัน

จากหัวข้อที่ควรตรวจสอบสมาชิกในครอบครัวดังกล่าว ถ้าพบว่ามีลักษณะสัมพันธ์กับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหลายหัวข้อ ก็พิจารณาได้ว่า สมาชิกในครอบครัวของท่านมีแนวโน้ม พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง สมควรแก้ไข ซึ่งยังไม่จำเป็นว่าต้องให้เห็นชัดเจนว่า ใช้ยาเสพติดแล้วจึงต้องแก้ไข เพราะปัญหาจากการใช้ยาเสพติดจะค่อยๆ ก่อตัวจากเล็กไปสู่ใหญ่ ถ้ารอให้ชัดว่ามีการใช้ยาเสพติด โดยผู้ใช้ยาเสพติดไม่สนใจคำแนะนำคำสั่งสอนอบรม ของคนในครอบครัวแล้ว นับว่าเป็นเรื่องยากต่อการแก้ไขอย่างมาก

สำหรับการติดยาเสพติดบางชนิด ผู้เสพอาจมีลักษณะและความประพฤติที่อาจสังเกตเห็นได้ ดังนี้ 

  1. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดยาบ้า

การเสพยาบ้า ผุ้เสพอาจจะไม่เกิดอาการเสพติดในครั้งหรือสองครั้งแรกที่เสพ เหมือนเข่นการเสพเฮโรอีน แต่เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อน และยังไปทำลายระบบประสาทอีกด้วย การสังเกตอาการของผุ้ติดยาสามารถสังเกตได้ดังนี้

  1. อาการทางร่างกาย
    1.1 ผู้ป่วยมักจะผอมลง น้ำหนักลดโดยเฉพาะรายที่ใช้มากและใช้มาเป็นเวลานาน
    1.2 การดูแลความสะอาดร่างกายมักจะลดลง
    1.3 มีการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้น เช่น แขนขา ใบหน้า บางรายชอบกัดกราม บางรายไม่อยู่นิ่งเดินไปเดินมา
  2. ดูเรื่องของจิตใจ และอารมณ์
    2.1 เวลาไม่ได้รับยา มักจะมีความซึมเศร้าหรือหงุดหงิดง่าย
    2.2 อุปนิสัยเปลี่ยนไป เช่น จากเป็นคนเรียบร้อย เชื่อฟังกลายเป็นคนก้าวร้าว ดุดัน หงุดหงิดโมโหง่าย
  3. ดูเรื่องการหลับการตื่น
    3.1 มักจะดึกมาก และมักชอบฟังเพลงเสียงดังแล้วตื่นสายมาก เห็นได้ชัดในวันสุดสัปดาห์ (มักจะมั่วสุมใช้ยาในเย็นวันศุกร์)
    3.2 มักจะหลับในห้องเรียน หรือง่วงนอน ขาดสมาธิ
  4. ผลการเรียน
    4.1 ผลการเรียนโดยรวมมักจะลดลงเพราะขาดสมาธิ และความจำมักจะมีประสิทธิภาพลดลง
    4.2 ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนลดลง ขาดเรียนบ่อยและมักมาสาย
  5. การคบเพื่อน
    5.1 คบเพื่อนที่ใช้ยาด้วยกันซึ่งมักจะเป็นกลุ่มเพื่อนที่ไม่ค่อยสนใจเรียน
    5.2 เมื่อผู้ป่วยรับโทรศัพท์ มักจะระมัดระวังในการพูดเหมือนมีความลับ หรือเมื่อมีโทรศัพท์เข้ามา ถ้าคนอื่นรับสายมักจะเงียบไป ไม่ยอมพูดหรือสั่งข้อความไว้
    5.3 การคบเพื่อนมักจะมีลักษณะพากันเที่ยวกลางคืนและกลับดึก มีการใช้เหล้าบุหรี่ด้วย
    5.4 บางรายอาจจะมีเงินทองใช้จ่ายมากกว่าผิดปกติ โดยไม่มีแหล่งที่มาของเงินชัดเจน อาจเป็นไปได้ผู้ป่วยอาจจะเริ่มกลายเป็นผู้ค้ารายย่อย
  6. อุปกรณ์การแสบ
    มักจะมีกระดาษฟรอยที่พับเป็นกรวยหรือกระทง พร้อมเทียนหรือไฟเช็คสำหรับเผายา และหลอดดูด ซึ่งอาจจะพบในห้องน้ำหรือกระเป๋า

นอกจากนั้นการเข้าใจธรรมชาติของผู้เสพติดหรือผู้ติดยา การมีความสันพันธ์ที่ดีมีความเอื้อเฟื้ออาทร ของผู้ที่ที่ป่วยเคารพรัก หรือคนที่รักเรา จะเป็นเหตุให้เขายอมเล่าความจริง โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตำหนิอย่างรุนแรง และควรนำความจริงและข้อผิดพลาดนั้น มาวิเคราะห์แล้วหาวิธีการช่วยเหลือ จะเป็นการป้องกันการกลับไปติดยาซ้ำ (Relapese prevention) เพราะผู้ติดยามีโอกาสผิดพลาดอีก แม้จะเลิกได้เป็นเวลานานแล้วก็ตาม

ผู้ปกครองควรสังเกตอาการ และเข้าใจธรมชาติของผุ้เสพติด มากกว่าเป็นการจับผิด ซึ่งการมีความสัมพันธ์ที่ดีมีความเอื้ออาทร จะทำให้เขายอมเล่าความจริง ดดยไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะถูกตำหนิอย่างรุนแรง และนำข้อผิดพลาดเหล่านั้นมาวิเคราะห์หาวิธีการช่วยเหลือ ซึ่งจะเป็นการป้องกันการกลับไปติดยาซ้ำ (Relapese prevention) อย่างไรก็ตามหากผุ้ปกครองไม่แน่ใจ อาจจะใช้วิธีการตรวจสอบปัสสาวะก็ได้ แต่ต้องระวังเรื่องของผลบวกปลอม ซึ่งเกิดจากการผิดพลาดของการใช้ยาแก้หวัดบางตัว อาจทำให้เข้าใจผิดกันได้

2. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน

ผู้ที่เสพยาเสพติด ประเภทนี้ จะมีลักษณะที่สังเกตได้ชัด คือ ร่างกายซูบซีดผอมเหลือง นัยน์ตาเหลืองซีด ม่านตาหรี่ไม่กล้าสู้แสง (จึงสวมแว่นกันแดด) ริมฝีปากเขียวคล้ำ ง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา และส่วนใหญ่จะมีอาการเฉยเมยต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพการณ์ของตัวเอง หลายคนกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน เกียจคร้าน หรือไม่อารมณ์เปลี่ยนแปลง ถ้าสังเกตตามร่างกายอาจพบร่องรอยบางอย่าง เข่น จมูกแดง มีผงติดตามจมูก( ถ้าสูดเฮโรอีนผง) มีรอยเข็มด้านในท้องแขน (ถ้าฉีดเฮโรอีนเข้าเส้น) มักจะใส่เสื้อแขนยาว เพื่อปกปิดร่องรอยการฉีด ยาบริเวณแขน หรือหลังมือทั้งสองข้าง และ หลังจากใช้เฮโรอีนแล้ว จะมีอารมณ์ดียิ้มง่าย ครื้นเครง ปากหวาน ถ้าใช้มากอาจนั่งสับปะหงก นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์การเสพ เช่น กล้องฝิ่น ก้อนฝิ่นดำ ผงสีขาวในถุงในแคปซูล ช้อนคีบ กระบอกและเข็มฉีดยา ฯลฯ ซุกซ่อนอยู่ตามที่ปกปิดมิดชิด

3. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดยาหลอนประสาท

ผู้เสพติดมันจะนอนหรือนั่งสลึมสลืม บางรายมีอาการเปลี่ยวแปลงทางด้านสายตาการรับรู้และการสัมผัส ตาทำให้กลาเป็นคนขี้ตระหนกตกใจ หวาดกลัว นอกจากนี้ยังมีน้ำลายออกมาก ฝ่ามือมีเหงื่อออกอารมณ์ และนิสัยเปลี่ยนแปลงจากเดิมจนเห็นได้ชัด

4. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดกัญชา 

ผู้เสพติดมักมีความคิดเลื่อนลอย สับสน อ่อนไหวจาควบคุมตัวเองไม่ได้ บางครั้ง แสดงอาการแปลกๆเพราะการรับรู้ภาพผิดปกติ บางรายที่เสพมากๆอาจมีอาการตื่นเต้น กระสับกระส่ายตลอดเวลา กล้ามเนื้อลีบ มือเท้าเย็น และหายใจขัดบ่อยๆ ในส่วนที่ตัวอาจพบว่าผู้เสพซุกซ่อนบ้องกัญชา หรือซุกซ่อนบุหรี่ ที่มีมวนบุหรี่รูปทรงผิดแปลกจากปกติ เช่น มวนหนาขึ้น กระดาษมีสีน้ำตาลเกือบขาว กระดาษมวนยับ (ไม่เรียบ) ปลายมวนบุหรี่ทั้งสองข้างจะถูกพับไว้ ไส้ในมวลบุหรี่ จะมีสีเขียวกว่าปกติ เป็นต้น ในกรณี ที่เห็นผู้สูบบุหรี่ที่ยัดไส้กัญชา จะได้กลิ่นเหม็นเหมือนหญ้าหรือเชือกไหม้ไฟ

5. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดสาระเห

ผู้เสพติดจะมีกลิ่นสาระเหยทางลมหายใจ และตามเสื้อผ้า มักง่วงเหงาหาวนอน ขาดสติสัมปชัญญะ มีอาการเหมือนคนเมาเหล้า พูดจาอ้อแอ้ เดินโซเซ น้ำมูกไหล มักมีแผลในปาก ในที่ส่วนตัว อาจพบภาชนะ หรือวัสดุใส่สารระเหยซุกซ่อนไว้ หากพบขณะ กังเสพอาจเห็ฯที่นิ้วมือมีผ้าสำลีซึ่งชุบสารระเหยพันอยู่และผุ้เสพยกนิ้วนั้นขึ้นสูดดมอยู่ตลอดเวลา หรืออาจพบว่า กำลังดมถุงพลาสติกที่ใส่สารระเหย

ที่มา http://www.oncb.go.th/PortalWeb/urlName.jsp?linkName=document/p1-know05.htm

ตอนที่ 4 การเกิดโรคเนื่องจากอาหารมีสารพิษหรือสารเคมีที่เป็นพิษ 
  
 1. โรคที่เกิดจากพิษของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ

     โดยธรรมชาติของพืชและสัตว์นั้น บางชนิดมีพิษอยู่ในตัวมันเอง บางชนิดปกติตัวของมันเองจะไม่มีพิษ แต่อาจมีพิษได้เนื่องจากสิ่งแวดล้อมหรืออาหารที่มันกินเข้าไป ตัวอย่างของพืชที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ เห็ดพิษ กลอย มันสำปะหลัง ลูกเนียง เป็นต้น ส่วนพิษจากสัตว์บางชนิดได้แก่พิษจากแมงดาถ้วย ปลาปักเป้า คางคก ส่วนสัตว์ทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง หอย ปู จะมีพิษเนื่องจากการกินสาหร่ายที่มีพิษเข้าไป ได้แก่ Gonyaullax catenella, G. tamareusis ผู้ที่บริโภคสัตว์ทะเลเหล่านี้จะเกิดอาการชาที่ริมฝีปาก ปลายนิ้ว และลิ้น อาการจะเกิดเร็วขึ้นมากอาจทำให้ถึงตายได้ภายใน 2-12 ชั่วโมงเนื่องจากระบบหายใจเกิดอัมพาต 
ปลาบางชนิด จะมีพิษเนื่องจากกินแพลงค์ตอนหรือสาหร่ายที่มีพิษเข้าไป เช่น Lyngbya majuscula ทำให้มนุษย์เกิดโรคได้

2. โรคที่เกิดจากพิษของสารเคมี

     สารเคมีเป็นพิษบางชนิด เช่น อาร์เซนิก แคดเมียม ทองแดง ไซยาไนด์ กรดนิโคทินิก ตะกั่วและสังกะสี อาจปะปนเข้าไปในอาหารได้โดยการติดไปกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร หรือภาชนะบรรจุอาหาร ยาฆ่าแมลงต่างๆ ก็เช่นเดียวกันอาจตกค้างอยู่ในพืชที่ใช้เป็นอาหาร ทั้งหมดนี้ทำให้อาหารเป็นพิษได้ทั้งสิ้น
ที่มา   http://www.sut.ac.th/e-texts/Medicine/foodsan/lesson2_4.htm

 
 ตอนที่ 3 การเกิดโรคเนื่องจากอาหารมีหนอนพยาธิ 
  
     หนอนพยาธิจัดเป็นพวกปรสิต ส่วนใหญ่แล้วสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้โดยการปะปนไปกับอาหารที่บริโภค หนอนพยาธิแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน และ พยาธิใบไม้ พยาธิบางชนิดสามารถชอนไชเข้าสู่อวัยวะต่างๆ จึงทำให้อวัยวะดังกล่าวเกิดการอักเสบและเป็นอันตรายได้ อาหารที่เป็นสื่อนำหนอนพยาธิเข้าสู่ร่างกายผู้บริโภคที่สำคัญ คือ
1. ผักสด ผลไม้ และอาหารที่ปนเปื้อนกับอุจาระของคน เป็นสื่อนำพยาธิไส้เดือน
2. พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด เป็นสื่อนำพยาธิใบไม้ในลำไส้
3. ปลาน้ำจืด และพวก กบ งู ไก่ ที่นำมาปรุงอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ เป็นสื่อนำพยาธิใบไม้ในตับ และพยาธิตัวจี๊ด ตามลำดับ
4. ลาบ ก้อย น้ำตก หรือเนื้อย่างที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ จากเนื้อหมูหรือเนื้อวัวที่มีตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดหรือที่เรียกว่า เม็ดสาคู ติดอยู่ จะเป็นสือนำพยาธิตัวตืด
ที่มา http://www.sut.ac.th/e-texts/Medicine/foodsan/lesson2_3.htm
ตอนที่ 2 การเกิดโรคเนื่องจากอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค 
  
 1. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อและการเป็นพิษของอาหารที่มีแบคทีเรียเป็นสาเหตุ

      อาหารเป็นพิษที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย (bacterial food intoxication) หมายถึง การเจ็บป่วยที่เกิดจากการได้รับสารพิษของแบคทีเรียในอาหาร ส่วนการติดเชื้อแบคทีเรียในอาหาร (bacterial food infections) หมายถึง การเจ็บป่วยที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีแบคทีเรียเข้าไปในร่างกาย

     1.1 โรคอาหารเป็นพิษ ( food poisoning) อันเนื่องมาจากการได้รับสารพิษของแบคทีเรีย

          1. โรคโบทูลิซึม (botulism) เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษ (neurotoxin) ที่ผลิตจาก 
Clostridium botulinum 
เชื้อที่เป็นสาเหตุ มีรูปร่างเป็นท่อน มักพบในดิน แบ่งเป็น 7 ชนิด ได้แก่ type A, B, C, D, 
E, F และ G ซึ่งเฉพาะ type A, B, E, และ F เท่านั้นที่ทำให้เกิดโรคกับมนุษย์ได้
สารพิษของ C. botulinum เป็นโปรตีนที่สามารถทำให้บริสุทธ์และตกผลึกได้ มีความเป็นพิษสูงมาก แม้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ สารพิษจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก และทำให้กล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจเป็นอัมพาต แต่สารพิษนี้ไม่ทนความร้อน ที่อุณหภูมิ 80 oC สามารถทำลายสารพิษ type A ได้ใน 6 นาที ส่วนสปอร์ของ C. botulinum ค่อนข้างทนความร้อน โดยทั่วๆไป ความร้อน 100 oC นาน 360 นาที สามารถทำลายสปอร์ของ C. Botulinum ได้หมด
อาหารที่มีความสัมพันธ์กับโรคโบทูลิซึม ได้แก่ อาหารแปรรูปบรรจุกระป๋องที่ผลิตขึ้นตามบ้าน ซึ่งมักได้รับความร้อนไม่เพียงพอ ชนิดของอาหารมักเป็นพวกผักผลไม้ เนื้อสัตว์ และปลา การแปรรูปอาหารในบ้านเป็นสาเหตุถึงร้อยละ 72
อาการของโรค เมื่อผู้ป่วยได้รับสารพิษของ C. Botulinum เข้าไปในร่างกายแม้เพียง เล็กน้อยก็ตาม จะเกิดอาการขึ้นภายใน 12-26 ชั่วโมงหลังการบริโภค มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งท้องเสีย อ่อนเพลีย หน้ามืด ตาลาย ปวดศีรษะ ในภายหลังอาจมีอาการท้องผูก เห็นภาพซ้อน และพูดลำบาก ผู้ป่วยอาจมีอาการกระหายน้ำ คอและลิ้นแข็ง ไม่มีไข้หรืออาจมีเพียงเล็กน้อย กล้ามเนื้อที่อยู่เหนืออำนาจจิตใจเริ่มเป็นอัมพาต และขยายไปถึงระบบทางเดินหายใจและหัวใจ ในที่สุดจะตาย เนื่องจากหายใจไม่ได้ ในรายที่ถึงแก่ชีวิต จะใช้เวลา 3-6 วัน หลังจากการบริโภคสารพิษ 

                     
การป้องกันโรค ทำได้โดย
          1. ใช้ความร้อนในกระบวนการแปรรูปอาหารให้เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อ
          2. กำจัดอาหารกระป๋องที่บวมหรืออาหารที่เสียทิ้ง
          3. หลีกเลี่ยงการชิมอาหารที่สงสัยว่าจะเสีย
          4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไว้นานแล้วไม่ได้อุ่นอีก
          5. ต้มอาหารที่สงสัยให้เดือดอย่างน้อย 15 นาที

     2. อาหารเป็นพิษเนื่องจาก Staphylococcus มีสาเหตุจากการย่อยสารพิษของ Staphylococcus aureus สารพิษนี้ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ
เชื้อที่เป็นสาเหตุ มีรูปร่างกลมเกาะกันเป็นกลุ่มคล้ายพวงองุ่น เป็นคู้ หรือเป็นสายสั้นๆ 
S. aureus สามารถผลิตสารพิษได้ 6 ชนิด ได้แก่ type A, B, C, C2, D และ E แต่ละชนิดจะมีความเป็นพิษต่างกัน อาหารเป็นพิษส่วนใหญ่มักเกิดจาก type A สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญและผลิตสารพิษแตกต่างกันไปตามชนิดของอาหาร ในอาหารประเภทแป้งและโปรตีนมักจะส่งเสริมให้ Staphylococcus สร้างสารพิษได้มากกว่าอาหารชนิดอื่น ส่วนช่วงอุณหภูมิสำหรับการเจริญและการผลิตสารพิษจะอยู่ระหว่าง 4 - 46 oC
แหล่งที่มาของ Staphylococcus ในอาหารมักมาจากมนุษย์และสัตว์ ซึ่งมักมีเชื้ออยู่ที่จมูก ผิวหนัง และแผลต่างๆ ในโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบจะมีเชื้ออยู่ในน้ำนม
Staphylococcus จะถูกทำลายที่ความร้อน 66 oC นาน 12 นาที หรือ 60 oC นาน 83 นาที การทนความร้อนของเชื้อจะแตกต่างกันไปตามชนิดของอาหารและสายพันธุ์ 
อาการของโรค ขึ้นอยู่กับความต้านทานแต่ละคน ระยะฟักตัวของโรคใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง ซึ่งแตกต่างจากอาหารเป็นพิษหรือโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆ ที่มีระยะฟักตัวนานกว่านี้ อาการขั้นแรกที่พบคือ ผู้ป่วยจะมีน้ำลายออกมากผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริวที่ท้อง ท้องเสีย บางรายที่มีอาการมากอาจพบเลือดและมูกในอุจจาระ บางรายปวดศีรษะ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว เหงื่อออก หนาวสั่น ชีพอ่อนและช็อค มักพบว่ามีไข้ต่ำๆมากกว่าไข้สูง อาการจะคงอยู่ 1-2 วันก็หายโดยไม่ต้องรักษา 

                    
 อาหารเป็นพิษที่เกิดจาก Staphylococcus ป้องกันได้โดย 
          1. ป้องกันการปนเปื้อนของอาหารกับเชื้อ Staphylococcus 
          2. ป้องกันการเจริญของ Staphylococcus
          3. ทำลาย Staphylococcus ในอาหาร

     1.2 โรคติดเชื้อจากอาหาร แบ่งได้เป็นแบบ คือ 

     1. แบบที่เชื้อโรคมิได้มีการเจริญในอาหาร ได้แก่ เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค วัณโรค คอตีบ บิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ตับอักเสบ และคิวฟีเวอร์ 
     2. แบบที่เชื้อโรคมีการเจริญเพิ่มจำนวนในอาหาร ได้แก่ Salmonella spp., Vibrio parahemolyticus enteropathogenic E. coli การระบาดของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในอาหารแบบที่ 2 จะแพร่ไปได้เร็วกว่าแบบที่ 1

     1. โรคซาลโมเนลโลสิส (Salmonellosis) 
      โรคนี้เกิดจากการบริโภคอาหารที่มี Salmonella เข้าไปในร่างกาย เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ในบรรดาโรคติดเชื้อจากอาหารทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีโรคอีก 2 โรคที่มีสาเหตุจากการบริโภค Salmonella เข้าไปได้แก่ โรคไทฟอยด์และพาราไทฟอยด์ 
เชื้อที่เป็นสาเหตุ มีรูปร่างเป็นท่อนย้อมติดสีแกรมลบ ไม่สร้างสปอร์ สามารถย่อยสลายกลูโคสได้กรดกับก๊าซ 
แหล่งที่มาของ Salmonella อาจมาจากมนุษย์หรือสัตว์ โดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ เชื้ออาจมาจากผู้ป่วยหรือพาหะ (Carrier) หรือมาจาก แมว สุนัข สุกร โค กระบือ และที่สำคัญคือ มาจากสัตว์ปีกและไข่ของสัตว์เหล่านี้พบว่ามีการติดเชื้อ Salmonella มาก จึงมักพบเชื้ออยู่ตามอุจจาระ ไข่ และเป็ดไก่ที่ถอนขนแล้ว แมลงก็สามารถแพร่เชื้อได้ดี โดยการตอมอุจจาระของมนุษย์และสัตว์แล้วมาตอมอาหาร อาหารสัตว์ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่เป็นผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์หรือปลา อาจนำเชื้อ Salmonella ไปสู่สัตว์เลี้ยงที่ให้เนื้อได้
อาหารที่เกี่ยวข้องกับโรค Salmonellosis นั้นมีหลายชนิด มักจะเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ สัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ายิ่งไว้ในอุณหภูมิห้องเป็นเวลานานเนื้อสดอาจมี Salmonella ปนเปื้อนมาในขณะชำแหละในผลิตภัณฑ์เนื้อ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน ที่ปล่อยไว้ในอุณหภูมิห้องจะทำให้ Salmonella เจริญได้ดี เป็ดไก่ ปลาและอาหารทะเลก็เช่นกันถ้าไม่แช่เย็นก็อาจมี Salmonella ได้ นมและผลิตภัณฑ์ไข่ มักมี Salmonella อยู่จึงทำให้อาหารที่มีนมหรือไข่เป็นส่วนประกอบที่ได้รับความร้อนไม่เพียงพอ มีเชื้ออยู่ด้วย
อาการของโรค Salmonellosis ในแต่ละคนจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความต้านทาน ชนิดของเชื้อ และจำนวนที่บริโภคเข้าไป ระยะฟักตัวของโรคจะประมาณ 12 - 36 ชั่วโมง อาการที่สำคัญ คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องและท้องเสีย อาจปวดท้องหรือหนาวสั่น นอกจากนี้ อุจจาระเป็นน้ำ มีสีเขียว อ่อนเพลีย มีไข้ปานกลาง ง่วง อัตราการตายต่ำกว่า ร้อยละ 1 ส่วนใหญ่จะมีอาการอยู่ 2-3 วัน ก็จะดีขึ้น แต่ยังคงพักต่อไปอีก ผู้ป่วยที่หายแล้วมีโอกาสเป็นพาหะของโรคได้ร้อยละ 0.2-5 
การป้องกันโรค

                    
 ป้องกันได้โดย
          1. ระมัดระวังมิให้อาหารปนเปื้อนกับ Salmonella จากแหล่งต่างๆ 
          2. ทำลายเชื้อในอาหารด้วยความร้อนที่พอเพียงและเก็บรักษาอาหารไว้ให้ดี 
          3. ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อ Salmonella ในอาหารโดยวิธีการต่างๆ

     2. โรคกระเพาะอาหารลำไส้อักเสบที่มีสาเหตุจาก Clostridium perfringens 
      เชื้อที่เป็นสาเหตุ คือ Clostridium perfringens type A ซึ่งมีรูปร่างเป็นท่อน ย่อมติดสีแกรมบวก สร้างสปอร์ เคลื่อนที่ไม่ได้ เป็นแอนแอโรบ เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 43 - 47 oC แต่เจริญได้ในช่วงอุณหภูมิ 15 - 55 oC เชื้อจะไม่เจริญที่ pH ต่ำกว่า 5.0 หรือสูงกว่า 9.0 และถูกยับยั้งการเจริญด้วยโซเดียมคลอไรด์เข้มข้นร้อยละ 5 
เราสามารถตรวจพบสปอร์ของ C. perfringens ในอาหารสดเช่นเดียวกับที่ตรวจพบในดิน น้ำเสียและอุจจาระของสัตว์ อาหารที่พบเชื้อได้เสมอคือ เนื้อสัตว์ที่ปรุงทิ้งไว้เป็นเวลานาน ก่อนจะนำไปบริโภค สปอร์ทนความร้อนได้ดี การปรุงอาหารอาจทำลายเซลและสปอร์บางสายพันธุ์ได้ แต่อย่างไรก็ตามสปอร์ที่ยังรอดชีวิตได้ก็ยังงอกและเจริญอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่นำอาหารไปเก็บรักษาไว้ให้ดี 
อาการของโรค โรคมีระยะฟักตัว นานประมาร 8- 24 ชั่วโมง หลังจากการบริโภคอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงท้องเสีย มีก๊าซ มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน โรคมักเกิดจากการบริโภคเชื้อเข้าไปจำนวนประมาณ ล้านเซลต่อกรัมของอาหารและเชื้อจะปล่อยสารพิษในลำไส้ระหว่างเซลกำลังสร้างสปอร์เป็นผลทำให้มีการสะสมน้ำในลำไส้ สารพิษชนิดนี้ไม่ค่อยทนความร้อนคือ จะถูกทำลายที่อุณหภูมิ 60 oC นาน 10 นาที

                   
 การป้องกันโรคป้องกันได้โดย 
         1. แช่เย็นอาหารอย่างรวดเร็วหลังจากการปรุงอาหารหากยังไม่บริโภค และยังต้องใช้อุณหภูมิต่ำ เพียงพอในการถนอมอาหาร 
         2. ถ้าจะอุ่นอาหาร ให้ร้อนอยู่เสมอ จะต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า 60 oC 
         3. ก่อนนำอาหารมาบริโภคจะต้องอุ่นอาหารก่อน

     3. โรคติดเชื้อ Vibrio parahemolyticus
      เชื้อที่เป็นสาเหตุมีรูปร่างเป็นท่อนตรง หรือ ท่อนโค้งก็ได้ ย้อมติดสีแกรม เป็นพวก ฮาโลฟายด์ (ต้องการ NaCl ร้อยละ 1-3 ) และเจริญได้ใน NaCl เข้มข้นร้อยละ 7 อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญประมาณ 35-37 oC แต่สามารถเจริญได้ในอุณหภูมิ 22-42 oC ไม่เจริญที่ pH ต่ำกว่า 5 หรือสูงกว่า 11 เราสามารถแยกเชื้อ V. parahemolyticus ได้จากอาหารทะเลต่างๆ แต่เชื้อจะถูกทำลายหมดถ้าอาหารผ่านการปรุงที่เหมาะสม การระบาดของโรคติดเชื้อนี้ในญี่ปุ่นมักมีสาเหตุจากการบริโภคอาหารทะเลดิบกันมาก

      4. โรคติดเชื้อ Enteropathogenic Escherichia coli 
      โดยทั่วไปมักจะบอกว่า E. coli เป็นเชื้อที่มีอยู่ประจำในลำไส้ของคนและสัตว์ แต่จากการพบสาเหตุของโรคท้องเสียในเด็กทารกที่ระบาดในสถานรับเลี้ยงเด็กเสมอๆว่าเป็น E. coli ดังนั้นจึงจัด E. coli ชนิดที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย ในคนให้เป็น Enteropathogenic E. coli (EEC) โรคที่เกิดจากการบริโภค EEC สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกประกอบด้วยสายพันธุ์ที่ผลิตสารพิษในบริเวณลำไส้เล็กตอนบนจะทำให้เกิดอาการท้องเสียคล้ายกับอหิวาตกโรค ส่วนกลุ่มที่ 2 จะประกอบด้วยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายโรคบิดดดยไม่มีการสร้างสารพิษเชื้อจะเจริญ ในลำไส้ใหญ่และแทรกตัวไปที่ epithelial cell ของลำไส้

     5. โรคชิกเจลโลสิส (Shigellosis)
     เชื้อที่เป็นสาเหตุ คือ Shigella ซึ่งมีรูปร่างเป็นท่อน ย้อมติดสีแกรมลบ เจริญได้ดีที่ 37 oC และเจริญได้ในช่วงอุณหภูมิ 10-40 ํC สามารถทนความเข้มข้นของ NaCl ได้ร้อยละ 5-6 และไม่ค่อยทนความร้อน การทำให้เกิดโรคเกี่ยวข้องกับการปล่อยสารพิษซึ่งเป็น โพลีแซคคาไรด์ไปทำอันตรายต่อเยื่อบุผนังลำไส้

 
   
 2. โรคที่เกิดจากสารพิษของเชื้อรา

     สารพิษจากเชื้อรา หมายถึง เมทาโบไล์ที่ผลิตขึ้นโดยราบางชนิดมีความเป็นพิษสูง ต่อสัตว์หลายชนิด และค่อนข้างเป็นพิษต่อ ความเป็นอยู่ของมนุษย์ เนื่องมาจากการพบว่า สารพิษเหล่านี้อาจเป็นสารก่อมะเร็ง และพบว่ามีสารพิษปรากฏอยู่ในอาหารหลายชนิด

     2.1 อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) มาจากคำว่า A.+fla.+ toxin เป็นสารพิษที่ผลิตขึ้นจากเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัส ( Aspergillus flavus toxin) อาจผลิตโดยเชื้อราอีกพวกคือ แอสเปอร์จิลลัส พาราซิติกัส (A. parasiticus) ราแต่ละสายพันธุ์จะผลิตอะฟลาทอกซินต่างกัน 
เนื่องมาจากการพบ อะฟลาทอกซินในต้นปี ค.ศ. 1960 ทำให้มีผู้สนใจสำรวจ อะฟลาทอกซินในอาหารชนิดต่างๆ กันมาก สินค้าบางชนิดมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการเจริญของราที่ผลิตสารพิษได้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ น้ำผลไม้ เมล็ดธัญพืช เป็นต้น การเจริญและการผลิตสารพิษ อาจเกิดขึ้นหลังเก็บเกี่ยว หลังการแปรรูป หรืออาจเกิดก่อนการเก็บเกี่ยวผลก็ได้ ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของรา เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด การปนเปื้อนและแนวโน้มที่จะมีการผลิตสารพิษในแปลงพืชนั้น อาจมีสาเหตุจากการเข้าทำลายของแมลง ความชื้น ภูมิอากาศ และวิธีการเพาะปลูก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้กำหนดไว้ว่า อาหารจะมีอะฟลาทอกซินอยู่ได้ไม่เกิน 15 ppb

     2.2 พาทูลิน (Patulin) ราหลายชนิดสามารถผลิตพาทูลินได้ พาทูลินจะเป็นผลึกสีขาว เดิมจัดพาทูลินเป็นสารปฏิชีวนะเนื่องจากสามารถทำลายแบคทีเรียได้หลายชนิด พาทูลินที่ความเข้มข้นเพียงร้อยละ 0.1 สามารถยับยั้งการเจริญของ E.coli และ S.aureus ได้ และยังสามารถยับยั้งการเจริญของราได้ดี นอกจากนี้ ยังมีความเป็นพิษต่อเมล็ดพืช เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่ว เป็นต้น หนูทดลองที่ได้รับพาทูลินโดยการกินหรือฉีดเข้าเส้นเลือดในขนาดความเข้มข้น 0.3-2.5 มิลลิกรัมต่อกรัมของน้ำหนักตัว จะตายโดยเกิดอาการสมองบวม ปอดมีเลือดออก เส้นเลือดฝอยในตับ ม้าม ไตแตก ถ้าใช้ความเข้มข้นต่ำกว่านี้จะเกิดโรคมะเร็งในหนูได้
จากการตรวจหาพาทูลินในอาหารทั้งของมนุษย์และสัตว์ พบว่ามีพาทูลินในน้ำแอปเปิลเสมอ เพราะแอปเปิลเน่าร้อยละ 60 มีการเจริญของ Penicillium expansum แต่ในอาหารชนิดอื่นจะมีพาทูลินอยู่ในอัตราต่ำ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากมีสารประกอบบางอย่างที่สามารถยับยั้งการผลิตพาทูลินในอาหารนั้น เช่น เปปโตน ไกลซีน พาทูลินสามารถทนความร้อนได้ดี คือ ถ้าใช้ความร้อน 100 oC นาน 15 นาที จะยังไม่สลายตัว

     2.3 โอคราทอกซิน (Ochratoxin) เป็นสารพิษที่พบในเมล็ดธัญพืชแถบแอฟริกาใต้ผลิตจาก Aspergilus ovhraceus ,Penicilium viridicatum P.palitans

 
 3. โรคที่เกิดจากไวรัส

     ไวรัสหลายชนิดทำให้เกิดโรคติดต่อกันทางอาหาร เช่น โรคตับอักเสบ (infectious hepatitis) ซีงเกิดจากไวรัสตับอักเสบเข้ไปในร่างกายโดยการปนเปื้อนกับน้ำและอาหาร โรคโปลิโอ ซึ่งมักพบไวรัสที่เป็นสาเหตุในน้ำนม นอกจากนี้ยังมีไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคปากและเท้าเปื่อยในโค กระบืออาจติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ทางอาหาร โรคนิวคลาสเซิลจากสัตว์ปีกอาจติดต่อมาสู่มนุษย์ได้โดยพบว่าผู้ที่ทำงานในโรงงานแปรรูปสัตว์ปีกเกิดโรคตาอักเสบกันมาก เนื่องจากได้รับเชื้อนิวคาสเซิลจากน้ำใช้
 
 4. โรคที่เกิดจากริกเก็ตเซีย

     โรคที่มีสาเหตุจากริกเก็ตเซีย ที่ติดต่อทางอาหารที่สำคัญ ได้แก่ โรคคิวฟีเวอร์ ซึ่งเกิดจากเชื้อ Coxiella burnetii โรคนี้ติดต่อจากโคมาสู่คนทางน้ำนม แต่เดิมอุณหภูมิที่ใช้ในการพาสเจอร์ไรซ์น้ำนมจะใช้ 67.7 oC นาน 30 นาที ซึ่งสามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้ แต่เมื่อพบว่าความร้อนขนาดนี้ C. burnetii ยังรอดชีวิตได้ จึงเพิ่มอุณหภูมิในการพลาสเจอร์ไรซ์เป็น 62.8 oC นาน 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อนี้ในน้ำนม
ที่มา  http://www.sut.ac.th/e-texts/Medicine/foodsan/lesson2_2.htm
ตอนที่ 1 หลักการและความหมายของโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ 
  
      อาหาร แม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกายเกี่ยวกับการสร้างความเจริญเติบโต และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายแต่อาหารก็อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้เนื่องจากมี การปนเปื้อนของอาหาร ซึ่งอาหารอาจถูกปนเปื้อนได้โดยเชื้อโรคสิ่งสกปรกและสารพิษที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการปรุงประกอบและจำหน่ายอาหาร โดยโรคที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

1. ความหมายของโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ

     การเกิดโรคเนื่องจากอาหารเป็นสื่อ ( Food-borne Disease ) หมายถึง การเกิดการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค หนอนพยาธิ หรือ สารเคมีที่เป็นพิษเข้าไปในปริมาณที่มากพอที่จะทำให้เกิดอาการของโรค

2. ประเภทของโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

     1. โรคที่ติดต่อได้ หมายถึง โรคซึ่งเกิดกับผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว สามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจาก
          1.1 แบคทีเรีย เช่น อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ วัณโรค 
          1.2 พยาธิต่างๆ เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ตับ พยาธิตัวจี๊ด
          1.3 ไวรัส เช่น โปลิโอ ตับอักเสบ 
     2. โรคที่ไม่ติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดกับผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว ทำให้ผู้นั้นเจ็บป่วย หรือตาย แต่ไม่แพร่ขยายไปสู่ผู้อื่น โรคนี้มีสาเหตุมาจาก
          2.1 พิษของแบคทีเรีย เช่น พิษจากแผล ฝี หนอง
          2.2 พิษของเชื้อรา เช่น อะฟลาทอกซิน
          2.3 พิษจากสารเคมี เช่น สารพิษกำจัดศัตรูพืช
          2.4 พิษธรรมชาติในพืชและสัตว์ เช่น คางคก เห็ดพิษ

3. สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นสื่อ อาจแยกได้ตามสาเหตุต่างๆ ดังนี้

     1. เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและพิษของแบคทีเรีย
     2. เกิดจากพิษของเชื้อรา
     3. เกิดจากเชื้อไวรัส  
     4. เกิดจากพาราสิต
     5. เกิดจากพิษของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ
     6. เกิดจากพิษของสารเคมี

ที่มาhttp://www.sut.ac.th/e-texts/Medicine/foodsan/lesson2_1.htm

ประวัติกรีฑา
ระดับชั้น : ประถมศึกษา
กลุ่มสาระฯ : สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระ : การเคลื่อนไหว การออกกำลัง การเล่นเกมส์ กีฬาไทย กีฬาสากล
จำนวนผู้อ่าน : 30745
กรีฑาจัดเป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุด และเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ ในสมัยโบราณมนุษย์ยังไม่รู้จักการทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง ไม่รู้จักสร้างที่อยู่อาศัยหรือเครื่องนุ่งห่ม จึงต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติและสัตว์ป่านานาชนิด มนุษย์พวกนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของกีฬา เพราะการที่มนุษย์ออกไปหาอาหารมาเลี้ยงชีพ บางครั้งต้องวิ่งหนีสัตว์ร้ายอย่างรวดเร็ว การวิ่งเร็วของคนถ้าเทียบกับปัจจุบันก็เป็นการวิ่งระยะสั้น หากการวิ่งหนีบางครั้งต้องข้ามกิ่งไม้ ต้นไม้ หรือก้อนหิน ปัจจุบันก็กลายมาเป็นวิ่งข้ามรั้วและวิ่งกระโดดสูง

ตามประวัติของกรีฑา เชื่อกันว่าชาวกรีกสมัยโบราณเป็นผู้ริเริ่มการแข่งขันกีฬาและกรีฑาขึ้น ในราว776 ปี ก่อนคริสตกาล โดยมีจุดประสงค์ที่จะเตรียมพลเมืองของกรีกให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะรับใช้ประเทศชาติในการป้องกันประเทศได้อย่างเต็มที่ อีกเหตุผลหนึ่งคือ ชาวกรีกในสมัยนั้นนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ซึ่งเทพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้บันดาลความสุขหรือความทุกข์ให้แก่พวกเขา ดังนั้นชาวกรีกจึงพยายามเอาใจเทพเจ้า ด้วยการทำพิธีบวงสรวงหรือทำพิธีกรรมต่างๆ เมื่อเสร็จการบวงสรวงตามพิธีทางศาสนาแล้วจะต้องมีการเล่นกีฬาถวาย ณ ที่ลานเชิงเขาโอลิมปัส แคว้นอีลิส เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระเกียรติของเทพเจ้าเหล่านั้น

การเล่นกีฬาที่บันทึกเป็นประวัติศาสตร์สืบทอดกันมาก็คือ การเล่นกีฬา 5 ชนิด ได้แก่ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน และขว้างจักร โดยผู้เล่นแต่ละคนต้องเล่นกีฬา 5 ชนิดนี้ จะเห็นได้ว่านอกจากมวยปล้ำแล้วกีฬาอีก 4 ชนิด ล้วนแต่เป็นกรีฑาทั้งสิ้น การเล่นกีฬาดังกล่าวได้ดำเนินมาเป็นเวลาถึง 1,200 ปี กรีกก็เสื่อมอำนาจลงและตกอยู่ใต้อำนาจของโรมัน การกีฬาของกรีกก็เสื่อมลงด้วยตามลำดับ จนกระทั่งปี ค.ศ. 393 จักรพรรดิ์ธีโอดอซีอุส แห่งโรมัน ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการเล่นนั้น เพราะการแข่งขันในตอนปลายก่อนยกเลิกมุ่งหวังสินจ้างรางวัลและเป็นการพนัน มากกว่าการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ

หลักจากที่โอลิมปิกสมัยโบราณยุติไป 15 ศตวรรษ ก็ได้มีบุคคลสำคัญผู้หนึ่ง คือ บารอน เปียเดอร์คู แบร์แตง ซึ่งเป็นชาวผรั่งเศส ได้ชักชวนบุคคลสำคัญของประเทศต่างๆ ให้เข้าร่วมตกลงเปิดการแข่งขันโอลิมปิกปัจจุบันขึ้นใหม่ โดยจัดให้มีการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 ครั้ง ในข้อตกลงให้บรรจุการเล่นกรีฑาเป็นกีฬาหลักของการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติและเป็นอนุสรณ์ชนชาติกรีกที่เป็นผู้ริเริ่มจึงลงมติเห็นชอบพร้อมกันให้ประเทศกรีกจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นประเทศแรก ในปี ค.ศ.1896 พ.ศ.2439 ณ กรุงเอเธนส์


กรีฑาสำหรับประเทศไทย

สำหรับการแข่งขันกรีฑาในประเทศไทย กระทรวงธรรมการได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนขั้นครั้งแรกในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ณ ท้องสนามหลวง ในพิธีเปิดการแข่งขันครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดการแข่งขันและทอดพระเนตรการแข่งขัน นับตั้งแต่นั้นมากระทรวงธรรมการได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำทุกปีตลอดมา

ปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้งกรมพลศึกษาขึ้น โดยมีนโยบายส่งเสริมการกีฬาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังจากนั้นกีฬาและกรีฑาก็ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น โดยจัดให้มีการแข่งขันกรีฑาระหว่างโรงเรียน ระหว่างมหาวิทยาลัยและกรีฑาประชาชน

ปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดการแข่งขันกรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา

ปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์กรส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขัน "กีฬาแห่งชาติ" ทุกปี

ปี พ.ศ. 2528 เปลี่ยนชื่อจากองค์กรส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เป็น "การกีฬาแห่งประเทศไทย"
ที่มา    http://www.aksorn.com/webguide/webguide_detail.php?content_id=42

ก็อย่างที่โบราณเค้าว่ากันว่า  หวานเป็นลมขมเป็นยา  สิ่งที่น่าคิดก็คือ  ทำไมของที่มีประโยชน์ส่วนใหญ่มักจะมีรสชาติที่ไม่น่ารับประทาน  ไม่อร่อยลิ้นเอาเสียเลย  ก็อย่างเช่นเจ้ามะระนี่แหล่ะ  ที่มีรสชาติขมซะจนไม่อยากจะรับประทาน  ภายใต้หน้าตาที่อัปลักษณ์ของมัน  ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันมาปฏิวัติการกินเสียใหม่  ชาวเอเชียรู้จักกันดีถึงสรรพคุณของมะระ  แต่ชาวฝั่งตะวันตกกลับกลัวที่จะกินมัน  ทั้งที่ยังไม่รู้ประโยชน์ที่แสนจะอัศจรรย์ของมันแม้แต่น้อย  เรามาดูประโยชน์ของมะระกันเลยดีกว่า

อย่างแรกเลย  คือ  ความขมของมะระนั้นสามารถช่วยให้เราเจริญอาหาร  เพราะสารขมที่อยู่ในมะระนั้นจะช่วยกระตุ้นให้น้ำย่อยออกมามากจึงทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น  ซึ่งเราอาจจะนำมะระไปลวก  หรือเผาไฟจิ้ม  แล้วนำมาจิ้มกับน้ำพริกก็ได้

ต่อมาก็คือ  คุณสมบัติในการการบำบัด  และรักษาโรคเบาหวานระยะเริ่มต้นด้วยสารอาหารในมะระ  ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มเบต้าเซลล์ในตับอ่อน  โดยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างอินซูลิน  (ฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด)  อีกทั้งมะระยังมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต  สารอาหารจะผสมอยู่ในรูปของโปรตีน  ซึ่งสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคตับและโรคเบาหวานได้  มะระยังสามารถแก้โรคตับอักเสบ  ปวดหัวเข่า  ม้านอักเสบได้  โดยรับประทานมะระดิบเป็นประจำจะช่วยได้

นอกจากนี้มะระยังมีคุณค่าทางอาหารมากมาย  เพราะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัส  แคลเซียม  วิตามินซี  วิตามินบี๑ – บี ๓, เบต้าแคโรทีน ไฟเบอร์ ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม  เป็นต้น

เมนูอาหารจากมะระ  ได้แก่  ต้มจืดมะระยัดไส้ มะระต้มจับฉ่าย ผัดมะระหมูสับ มะระผัดกุ้ง มะระผัดน้ำมันหอย เป็นต้น  หากจะลดความขมของมะระต้องลวกหรือต้มนาน ๆ  โดยคลุกเคล้ากับเกลือก่อนที่จะนำไปปรุง  หรือต้มน้ำแล้วเทน้ำทิ้ง ๑ ครั้ง  ก่อนนำมารับประทาน  จะช่วยให้กินมะระได้อย่างสบายใจ

แถมท้ายอีกนิด  ด้วยข้อควรระวัง  เราทานมะระที่ดิบ ๆ  กันได้  แต่ห้ามรับประทานมะระที่มีผลสุก  เพราะอาจทำให้คลื่นไส้  อาเจียนได้  เนื่องจากมีสารซาโปนินอยู่มากซึ่งสารนี้จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย  อีกอย่างอย่าทานมะระมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ท้องเสีย  เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

ไม่น่าเชื่อเลย  ว่ามะระที่มีรสชาติที่ขม  ไม่น่ารับประทาน  ที่ใครหลายคนไม่ชอบรับประทานกันนั้น  จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายจนเราคาดไม่ถึงขนาดนี้  ดังนั้นเราควรจะหันมารับประทานมะระกันบ้าง  จะได้มีสุขภาพที่ดีกัน

 

แหล่งข่าวโดย.... www.teenpath.net

ผู้จัดทำ.... กลุ่มส่งเสริมสนับสนุนวิชาการ

[08 ธันวาคม 2551]

ที่มา http://www.pr-ddc.com/modules.php?name=News&new_topic=2

ข้อมูลการแข่งขัน

 กำหนดการพิธีเปิดการแข่งขัน
 กำหนดการพิธีปิดการแข่งขัน
 ตารางกำหนดการแข่งขัน
 สถานที่พักของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่

โปรแกรมการแข่งขัน (ไม่นับวันประชุมผู้จัดการทีม)
ที่กีฬาสนามแข่งขันวันที่แข่งขันเอกสารกำหนด
การแข่งขัน
โทรศัพท์
ผู้ประสานงาน

กรีฑา

สนามกีฬา สพล.สุโขทัย  “บุญสม  มาร์ติน”

3 - 6 ก.พ. 52html084-618-7005

กอล์ฟ

สนามดงภูเกิด  จ.พิษณุโลก

5 - 8 ก.พ. 52pdfhtml089-461-0704

จักรยานเสือภูเขา

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย  

8 - 9 ก.พ. 52html086-928-7890

เซปักตะกร้อ

โรงเรียน.กงไกรลาศวิทยา

2 - 10 ก.พ. 52html081-727-7710

เทควันโด

อาคารทองคูณ   หงส์พันธุ์ สพล.สุโขทัย

6 - 9 ก.พ. 52html084-812-1180

เทนนิส

สนามเทนนิส  “สุทธิ  ผลสวัสดิ์”   สพล.สุโขทัย

3 - 8 ก.พ. 52pdfhtml081-037-2196

เทเบิลเทนนิส

โรงเรียนพุ่ยฮัว  อ.ศรีสำโรง

3 - 8 ก.พ. 52pdfhtml081-533-5433

เนตบอล

โรงเรียนอุดมดรุณี

2 - 9 ก.พ. 52pdfhtml089-437-2508

บาสเกตบอล

โรงยิมส์  ๒,๕๐๐  ที่นั่ง  “สุโขทัยเกมส์”   สพล.สุโขทัย

2 - 10 ก.พ. 52html083-330-1161

๑๐

แบดมินตัน

โรงเรียนสวรรคโลกประชาสรรค์  อำเภอสวรรคโลก

3 - 8 ก.พ. 52pdf083-410-3895

๑๑

เปตอง

สนามเปตอง  สพล.สุโขทัย

3 - 7 ก.พ. 52html089-859-5227

๑๒

ฟุตซอล

โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม

2 - 9 ก.พ. 52pdfhtml081-040-8419

๑๓

ฟุตบอลชาย

สนามฟุตบอล  ๒ “ทินกร  นำบุญจิตต์”  สพล.สุโขทัยวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย

2 - 9 ก.พ. 52pdfhtml086-262-9621

๑๔

ฟุตบอลหญิง

โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา อำเภอสวรรคโลก

2 - 9 ก.พ. 52pdfhtml086-937-9464

๑๕

มวยสากลสมัครเล่น
มวยไทยสมัครเล่น

โรงยิมส์มวย  “วิจารณ์พลฤทธิ์”   สพล.สุโขทัย 

3 - 8 ก.พ. 52thai-boxing(pdf)081-281-7328
087-573-7710

๑๖

ยกน้ำหนัก

หอประชุมอำเภอคีรีมาศ

4- 8 ก.พ. 52html087-944-0034

๑๗

ยิงปืน

สนามยิงปืน  “สมบัติ  กลิ่นผา”  สพล.สุโขทัย

6- 9 ก.พ. 52html089-438-7744

๑๘

ยิมนาสติกลีลา

โรงเรียนอุดมดรุณี

3- 4 ก.พ. 52html081-379-3607

๑๙

ยิมนาสติกศิลป์

โรงยิมส์  ๒  “พีชเรช  พิริยหะพันธ์”  สพล.สุโขทัย

2- 4 ก.พ. 52html089-703-3367

๒๐

ยูโด

หอประชุมวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย

4- 7 ก.พ. 52html086-737-1950

๒๑

รักบี้ฟุตบอล

โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม

3 - 10 ก.พ. 52pdfhtml081-474-9601

๒๒

ลีลาศ

โรงยิมส์  ๑  “ปรีดา  รอดโพธิ์ทอง”  สพล.สุโขทัย 

6 - 8 ก.พ. 52html081-475-4512

๒๓

ว่ายน้ำ

สระว่ายน้ำ  ๕๐  เมตร  “กว้าง  รอบคอบ”  สพล.สุโขทัย

4 - 8 ก.พ. 52pdfhtml086-933-5891

๒๔

วอลเลย์บอล

โรงยิมส์  ๔  “สุวรรณ  กู้สุจริต”  สพล.สุโขทัย

2 - 10 ก.พ. 52html081-380-4231

๒๕

วอลเลย์บอลชายหาด

สนามชายหาด  สพล.สุโขทัย

2 - 10 ก.พ. 52pdfhtml081-887-7075

๒๖

แฮนด์บอล

โดมฟ้า  สพล.สุโขทัย                                

2 - 10 ก.พ. 52pdf, html081-475-0904

๒๗

วู๊ดบอล

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

4 - 5 ก.พ. 52pdfhtml085-037-9029

๒๘

วูซู

หอประชุมโรงเรียนกวางตง

6 - 9 ก.พ. 52pdf , html083-167-1906

๒๙

สนุกเกอร์

หอประชุมร.ร.สุโขทัยวิทยาคม

3 - 9 ก.พ. 52html081-796-2703

๓๐

คาราเต้โด

วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย

5 - 9 ก.พ. 52html086-938-8279

๓๑

ฮอกกี้(กีฬาสาธิต)

สนาม “บุญสม มาร์ติน”  สพล.สุโขทัย

7 - 8 ก.พ. 52 081-2800380

หมายเหตุ *********ตารางนี้ไม่นับวันประชุมผู้จัดการทีม 
วันประชุมผู้จัดการทีมดูได้จาก ตารางกำหนดการแข่งขัน

ที่มา http://www.nakhonsukhothaigames.com/news.php



....ตัวอย่างการทำวิจัยชั้นเรียน...
เพื่อเป็นแนวทางในการทำผลงานและการเยีนวยา....
การเตรียมตัวเพื่อทำผลงานทางวิชาการ
ทุกท่านที่จะทำผลงานทางวิชาการต้องมีการเตรียมพร้อมดังนี้ครับ....
คู่มือการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
จะเตรียมตัวทำผลงาน ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร และจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ครับ....
1. ัวอย่างารวิเตราะห์หลักสูตรก่อน
เขียนแผนการจัดการเรียนรู้

ตัวอย่างงานที่ผ่านการตรวจ
2. ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้
3.
ตัวอย่าง บันทึกผลหลังสอน

3.1 ตัวอย่างแผน STAD
3.2 ตัวอย่างแผน CIPPA
3.3 ตัวอย่างแผน Backwards

++
จะค่อยนำขึ้นเรื่อยๆครับ++

4. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงานบทที 1


5. วิธีเขียน /
ตัวอย่างรายงาน บทที่ 2

6. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 3

7. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 4

8. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 5

9.
ตัวอย่าง การเขียนบทคัดย่อ


10.ตัวอย่าง การเขียนบรรณานุกรม


10.1 การจัดเรียงภาคผนวก
10.2 แบบประเมินของผู้เชี่ยวฃาญ

11. ตัวอย่าง การเขียน วฐ.2/1


12. ตัวอย่างนวัตกรรม
12.1 ตัวอย่าง บทเรียนสำเร็จรูป
12.2 ตัวอย่าง วีดิทัศน์

12.3 ตัวอย่าง วีดิทัศน์พระพุทธ
12.4 ตัวอย่าง เอกสารประกอบ
12.5 ตัวอย่างเอกสารประกอบใน
รูปแบบ Powerpoint
13. การหาค่าของคะแนนแบบง่าย

14. ตัวอย่างคู่มือการใช้เแบบฝึกฯ

15. การใช้ Font สำหรับนวัตกรรม.
ที่มา http://www.kruesanbannok.com/index.php